AIS eSports ตอกย้ำภารกิจการยกระดับอุตสาหกรรมอีสปอร์ตไทยให้มีมาตรฐานระดับสากล ผ่านการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อสร้าง Ecosystem ในอุตสาหกรรมเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งผู้พัฒนาเกม ดีไวซ์ ผู้จัดการแข่งขัน นักกีฬา หรือแม้แต่ แคสเตอร์ สตรีมเมอร์ และนักพากย์เกม ที่วันนี้เติบโตขึ้นไปพร้อมกับภาพรวมของอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น AIS eSports จึงเดินหน้าจัดโครงการ AIS eSports Young Caster Talent Season 2 เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่อง เพื่อยกระดับมาตรฐานนักพากย์กีฬาอีสปอร์ตสู่การเป็น Caster มืออาชีพ ซึ่งจะมาช่วยเติมเต็มให้ Ecosystem มีความแข็งแกร่ง เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันการเติบโต Digital Economy หรือเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ผ่านการฝึกอบรมจากนักพากย์กีฬาอีสปอร์ตมืออาชีพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่าง ไซคอป นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้รับการแชร์ประสบการณ์จาก Influencer ชั้นนำ โดยมีแพลตฟอร์มชั้นนำด้านอีสปอร์ตอย่าง Twitch Thailand เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานครั้งนี้
นางสาวรุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการพันธมิตรธุรกิจด้านบันเทิงและคอนเทนต์ AIS กล่าวว่า “นักพากย์กีฬาอีสปอร์ตเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เกิดขึ้นจากการเติบโตของอุตสาหกรรมอีสปอร์ตในเมืองไทย ซึ่งจากการจัดโครงการเพื่อเปิดพื้นที่ให้กับนักพากย์ได้เข้ามาเรียนรู้การพากย์อย่างมืออาชีพในปีที่ผ่านมากับโครงการ AIS eSports Young Caster Talent 2021 ทำให้เราเห็นข้อมูลสำคัญว่า วันนี้มีเยาวชนและคนรุ่นใหม่จำนวนมากที่สนใจอยากเข้าสู่เส้นทางสายอาชีพในวงการเกมและอีสปอร์ต ในฐานะ Caster อีสปอร์ตระดับมืออาชีพ จึงเป็นเหตุผลที่เรายังคงเดินหน้าจัดโครงการดังกล่าวขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2
- ผู้พัฒนา Valorant เผยเคยออกแบบให้ Phoenix ใช้แดชแทนแฟลช
- THEERATHON FIVE ซิวแชมป์ LEO PUBG ก่อนลุย PGC
โดยยังคงความเข้มข้นของเนื้อหาที่เราได้นักพากย์กีฬาอีสปอร์ตมืออาชีพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่าง ไซคลอป เข้ามาเป็นผู้จัดทำเนื้อหาการเรียนรู้ รวมถึงในปีนี้เรายังทำงานร่วมกับ Twitch Thailand ในฐานะแพลตฟอร์มด้านเกมและอีสปอร์ตที่ได้ชวน Influencer มาร่วมเปิดประสบการณ์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมโครงการอีกด้วย”
ความพิเศษของโครงการ AIS eSports Young Caster Talent Season 2 ในปีนี้ คือการขยายกลุ่มผู้สนใจเข้าร่วมโครงการออกเป็น 2 กลุ่มคือ นักพากย์เยาวชนหน้าใหม่ ระดับมัธยมศึกษาอายุตั้งแต่ 12–17 ปี ซึ่งจะเปิดรับสมัครในเดือนพฤศจิกายน โดยผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือก 20 คนจะได้รับโอกาสเข้าคอร์สฝึกอบรมการเป็นแคสเตอร์ระดับมืออาชีพ ทั้งหมด 24 ชั่วโมง
และกลุ่มนักพากย์รุ่นบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 18 ขึ้นไป ที่จะเปิดรับสมัครในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งจะคัดเลือกผู้สมัครเป็นจำนวน 20 คนเช่นเดียวกัน เพื่อเข้าอบรมการเป็นแคสเตอร์ระดับมืออาชีพทั้งหมด 30 ชั่วโมง โดยทั้งสองกลุ่มจะมีการคัดเลือกผู้เข้ารอบถัดไปจำนวน 2 คนที่มาร่วมงานระดับอาชีพกับ AIS eSports ที่มีรายการแข่งขันระดับประเทศมากมาย
นายตรีภพ เที่ยงตรง ผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการบริหาร บริษัท สเปคเตอร์ อีสปอร์ต จำกัด หรือ ไซคลอป กล่าวในฐานะผู้ดำเนินการจัดหลักสูตรเนื้อหาผู้เข้าร่วมว่า “วันนี้การพากย์กีฬาอีสปอร์ตไม่ได้เป็นเพียงแค่กิจกรรมยามว่างของผู้ชื่นชอบและคลั่งไคล้การแข่งขันเกมเท่านั้น แต่ยังสามารถต่อยอดเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้จากการเติบโตของตลาดและการแข่งขัน ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย เพราะฉะนั้นการพัฒนาทักษะความสามารถของนักพากย์ให้ทันต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยทำให้ภาพรวมของ
อีสปอร์ตไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ต้องขอขอบคุณ AIS eSports ที่มอบโอกาสให้เราอีกครั้งเป็นปีที่ 2 ในการฝึกฝนนักพากย์หน้าใหม่ทั้งเยาวชนและคนทั่วไปให้มีทักษะพร้อมที่เป็นนักพากย์มืออาชีพต่อไป ผมเชื่อว่าโครงการ AIS eSports Young Caster Talent Season 2 จะเป็นเหมือนกับจุดเริ่มต้นให้กับบรรดานักพากย์กีฬาอีสปอร์ตได้มีพื้นที่ในการฝึกฝนยกระดับความสามารถของตัวเอง และสร้างมาตรฐานของนักพากย์อีสปอร์ตของไทยให้มีความเป็นมืออาชีพต่อไป”
ทางด้าน นางสาวจิรัฐติกาล สุทธิวรรณารัตน์ ผู้อำนวยการด้านคอนเทนต์ ประเทศไทย Twitch กล่าวว่า “สำหรับ Caster ในประเทศไทยนั้น ยังเป็นอาชีพที่ใหม่ และคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจค่อนข้างมาก แต่มีหน่วยงาน หรือองค์กรที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในกลุ่มนี้ค่อนข้างน้อย การที่ AIS เปิดโอกาสให้กลุ่มนักพากย์ จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับน้องๆ ให้ได้เรียนรู้ในทักษะที่หลากหลาย และเข้าใจในเกม กฎ และกติกา จนได้ลงสนามมาเป็นนักพากย์จริงๆ เรายังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าน้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการจะไม่ได้เข้ามาในวงการเพื่อเป็นนักพากย์หน้าใหม่เท่านั้น แต่ทุกคนยังสามารถใช้โอกาสที่ได้รับนี้ไปต่อยอดเป็นอาชีพได้ในอนาคต”
นางสาวรุ่งทิพย์ กล่าวในช่วงท้ายว่า “ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจในการยกระดับอุตสาหกรรมอีสปอร์ตของไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติ เราจึงทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ที่อยู่ในคอมมูนิตี้ของตลาดในทุกระดับ และแน่นอนว่า Caster หรือ นักพากย์ ก็เป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญของอุตสาหกรรมอีสปอร์ต การลุกขึ้นมาให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้และมาตรฐานของวิชาชีพจึงเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการนำพาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน”
อ่านเพิ่ม : 6 ยอดทีม Valorant ที่ไม่ได้ไปต่อกับ VCT 2023