ประเทศเกาหลีใต้และวงการอีสปอร์ต เรียกได้ว่าเป็นของคู่กันไปแล้ว นับตั้งแต่ยุคที่ Starcraft มีการแข่งขันและถ่ายทอดสดทั่วโลกในปี 1990s

คิมฮีชอล ศิลปินเค-ป็อป ของวง Super Junior เริ่มสนใจในวงการอีสปอร์ตเมื่อปี 1999 ที่เขามีอายุ 17 ปี หลังชมการแข่งขัน Starcraft บน OnGameNet (OGN) หนึ่งในสถานีโทรทัศน์เคเบิลของเกาหลีใต้ที่ถ่ายทอดสอดการแข่งขันเกมและอีสปอร์ตในเวลานั้น

ONE Esports ได้พูดคุยกับฮีชอล เกี่ยวกับความชื่นชอบในอีสปอร์ตของเขา และเพื่อนๆที่ได้พบะระหว่างทางในวงการเกม


ประสบการณ์อีสปอร์ตของฮีชอล ในเกาหลีใต้

ฮีชอล แสดงออกถึงความสนใจในอีสปอร์ตมาหลายปีแล้ว ทำให้เขาได้เป็นเพื่อนกับเหล่าโปรเพลเยอร์มากมาย เช่น Park “Reach” Jeong-seok, Kang “Nal_rA” Min, Hong “YellOw” Jin-ho, caster Chun Yong-jun และอีกมากมาย

คนที่เขาสนิทที่สุดคือ Reach ที่โด่งดังมาจากการเล่น Protoss ใน StarCraft: Brood War

“ปัจจุบันเขาเป็นผู้จัดการทั่วไปของ Fredit Brion,” ฮีชอล กล่าว “นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผมถึงลงทุนทำทีม”

Credit: Kim Heechul

เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ฮีชอล เพิ่งโพสต์ภาพกำลังรับประทานอาหารเย็นกับ Lee “Faker” Sang-hyeok ผู้เล่น T1 เจ้าของฉายาพระเจ้าแห่ง League of Legends ที่เขาชื่นชอบเป็นพิเศษ

ทั้งสองคนปรากฏตัวในรายโทรทัศน์ชื่อดังอย่าง Radio Star โดย ฮีชอล ตอบตกลงเข้าร่วมรายการ เนื่องจากผู้เขียนบทที่เขาสนิท โทรศัพท์ไปถามเขาว่าว่างหรือไม่ในวันคริสต์มาส ซึ่ง Faker จะเป็นหนึ่งในแขกรับเชิญด้วย

“ก่อนที่เขาจะพูดจบประโยค ผมพูดไปก่อนอีกว่าไม่ว่าจะยังไงก็ตาม ผมไปแน่” ฮีชอล เผย



แม้ว่าอีสปอร์ตจะได้รับความนิยมอย่างมากในเกาหลีใต้ แต่ฮีชอลเชื่อว่าต้องเปลี่ยนทัศนคติของผู้คนส่วนใหญ่อีกมาก

“มีกระแสสังคมมากมายที่ดูถูกอนิเมะและเกม การเหยียดหยามแบบนี้ขยายวงกว้างไปยังวงการอื่นในลักษณะเดียวกันด้วย ยังมีผู้คนที่ใช้ถ้อยคำดูถูกว่า มันก็แค่เกม หรือ มันก็แค่หนังสือการ์ตูน อยู่”

แม้เขาจะเติบโตมาพร้อมกับประโยคว่า “ทุกอาชีพสมควรได้รับความเคารพ” แต่เขาก็ไม่เห็นว่ามันจะใช้ได้ในชีวิตจริง

“หลายคนยังคงคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติที่จะดูถูกวงการเกมและอีสปอร์ต แม้ว่าจะเป็นอตุสาหกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นงานอดิเรกที่มีมูลค่าก็ตาม” ฮีชอล กล่าว

Credit: Major League Gaming

ฮีชอล ให้ความเคารพกับ Lim “SlayerS_BoxeR” Yo-hwan โปรเพลเยอร์ Starcraft รายนี้อย่างมาก โดยยกย่องให้เป็นผู้บุกเบิกและต้นแบบแห่งอุตสาหกรรมอีสปอร์ต

“BoxeR พิสูจน์แล้วว่าทัวร์นาเมนต์ต่างๆที่เขาและเพื่อนร่วมวงการกำลังแข่งขันอยู่สมควรเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย การแบกรับสิ่งเหล่านั้นไว้เป็นเรื่องยากลำบากอย่างเหลือเชื่อจริงๆ”

นับตั้งแต่ League of Legends เริ่มได้รับความนิยม Faker ก็ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งวงการอีสปอร์ต ไม่ใช่แค่ในเกาหลีใต้ แต่เป็นทั่วทั้งโลก

“ถ้าให้ผมเปรียบเทียบกับเค-ป็อปอย่างระมัดระวังที่สุด ขอเปรียบ BoxeR เป็นวง Seo Taiji and Boys และ Faker เป็น BTS” ฮีชอล กล่าวทิ้งท้าย

อ่านเพิ่ม: Crws : จากฝันเป็นทันตแพทย์สู่โปร Valorant ที่พาทีมไทยแจ้งเกิดระดับโลก