การแข่งขันระดับนาชาติแรกของ Valorant ในปี 2022 อย่าง VCT 2022: Stage 1 Masters – Reykjavík ที่รวบรวม 12 ทีมชั้นนำทั่วโลกมาแข่งขันกันเพื่อหาผู้เป็นหนึ่ง ซึ่งก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มในวันที่ 10 เมษายนนี้ เราจะมาวิเคราะห์แต่ละทีมในแต่ละโซนที่เข้าร่วม ว่าพวกเขามีจุดเด่นจุดด้อยกันตรงไหนบ้าง

จุดแข็งและจุดอ่อนของ 3 ทีมจาก EMEA ที่ผ่านเข้าร่วม VCT Masters Reykjavik 

Team Liquid

Team Liquid

Team Liquid ทีมอันดับ 4 ได้โอกาสไปแข่งขันการแข่งขัน VCT Masters Reykjavik แทนทีมแชมป์อย่าง Funplus Pheonix ที่ไม่สามารถไปแข่งได้ แต่ก็ได้รางวัลปลอบใจจากทาง Riot Games เป็นการให้พวกเขาจบอันดับที่ 8 ของการแข่งขัน พร้อมแต้ม VCT 200 แต้มและเงินรางวัล 25,000 ตอลลาห์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในการแข่งขัน VCT 2022: EMEA Challengers 1 ที่ผ่านมา Team Liquid ทำผลงานได้ดีในระดับหนึ่ง โดยจบรอบแบ่งกลุ่มด้วยอันดับที่ 3 ของตารางด้วยสถิติชนะ 3 แพ้ 2 และผ่านไปได้ถึงรอบรองชิงชนะเลิศสายล่าง 

จุดแข็ง: ผู้เล่นชุดนี้ของ Team Liquid ขึ้นชื่อเรื่องความแม่นยำในการยิงและสกิลเพลย์ส่วนตัว เรามักจะได้เห็นช็อตการยิงหรือการ Clutch สวยๆอยู่บ่อยครั้ง ยกตัวอย่างเช่น ผู้เล่นซุปเปอร์สตาร์ประจำทีมอย่าง Adil “ScreaM” Benrlitom ที่มีแต้ม Average Combat Score อยู่ที่ 269.4 และอัตราการ Headshot อยู่ที่ 33.5% เปอร์เซ็น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอัตราที่สูง เมื่อเทียบกับผู้เล่นส่วนใหญ่

จุดอ่อน: Team Liquid มักจะบกพร่องในจังหวะที่ควรจะเล่นให้ละเอียด อย่างเช่นจังหวะการจัดโซนคุมไซต์ หรือการจัดโซนกันการรีเทคของคู่ต่อสู้ ซึ่งเราเพิ่งได้เห็นกันไปหมาดๆในการเกมที่ Team Liquid ที่เหลือ 3 คนโดน nukkye จาก G2 Esports เก็บหมดในแม็คเดียว หรือจะเป็นจังหวะการวิ่งเข้าไซต์ทีละคนละก็ตายหมดแบบดื้อๆในแมตช์เดียวกัน

แผนที่ที่ถนัด: Ascent, Haven

ด่าน Ascent และ Haven คือสองด่านที่มักจะเห็น Team Liquid เล่นได้ดี จากข้อมูลของเว็บ VLR.gg พวกเขามีอัตตราการชนะสูงกว่า 70% และมีอัตราการชนะในแต่ละฝั่งสูงกว่า 50% ในทั้งสองแผนที่

ผู้เล่นที่น่าจับตามอง: Nivera

Credit: Team Liquid

Nabil “Nivera” Benrlitom โชว์ผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมมาตลอดตั้งแต่ที่เขาย้ายมาเข้าร่วมกับพี่ชายแท้ๆอย่าง ScreaM ใน Team Liquid เขาเป็นผู้เล่นที่มีสกิลการเล่นและความนิ่งมากพ่อสมควร ทำให้เขามักจะเก็บชัยชนะได้เสมอ ซึ่งการเล่นของเขาก็ช่วยคว้าชัยชนะให้กับ Team Liquid มาหลายต่อหลายครั้ง



Fnatic 

Fnatic 

Fnatic จบอันดับ 3 ของการแข่งขัน VCT 2022: EMEA Challengers 1 และสามารถคว้าตั๋ว VCT 2022: Stage 1 Masters – Reykjavík  ได้สำเร็จ พวกเขามีผลงานที่ยอดเยี่ยมด้วยสถิติชนะ 7 เกมรวด แต่สุดท้ายก็พลาดท่าแพ้ Funplus Pheonix และ G2 Esports ในรอบเพลย์ออฟ

จุดแข็ง: Fnatic คือหนึ่งในทีมที่ผู้เล่นมีความครบเครื่องและทีมเวิร์ค พวกเขาต่างมีหน้าที่ของตัวเอง และทำได้ดีเสมอ ซึ่งจะเห็นได้ว่า Fnatic มักจะพึ่งการเซ็ตสกิล เพื่อให้ผู้เล่น Attacker ของทีมถลุงเข้าไซต์ไปเก็บคิลอยู่บ่อยครั้งแบบที่คู่ต่อสู้ไม่ทันได้ตั้งตัว ทำให้พวกเขาเป็นคู่แข่งที่หากต้องการจะเอาชนะก็ต้องทำการบ้านเป็นพิเศษ

จุดอ่อน: Fnatic มักจะมีปัญหาในเรื่องความละเอียดและการแก้แผน จากการแข่งขันที่ผ่านมาๆ จะเห็นได้ว่าในเกมไหนที่ Fnatic โดนอ่านเกมออก พวกเขามักจะเล่นไม่ได้เลย หรือบางทีก็แพ้ขาดแบบขาดลอย ซึ่งเห็นได้ชัในแมตช์การแข่งขัน VCT 2022: EMEA Challengers 1 รอบชิงชนะเลิศสายบนที่พวกเขาแพ้ Funplus Pheonix 13-0 ในแผนที่ที่ตัวเองเลือกมา นอกจากนี้ Fnatic ยังต้องปรับไลน์อัพใหม่ถึง 2 คนนั้นก็คือ Derke ที่ติด Covid-19 และ BraveAF ที่โดนแบน อาจจะทำแผนการเล่นต่างๆที่พวกเขาเตรียมมาใช้ได้ไม่มีประสิทธิภาพพอ

แผนที่ที่ถนัด: Bind, Icebox, Fracture

แผนที่ Bind และ Icebox คือสองแผนที่ที่ทีม Fnatic เล่นได้ดี และมักจะเก็บชัยชนะได้เป็นส่วนใหญ่ โดยมีอัตรการชนะสูงกว่า 70% และมีอัตราการชนะในแต่ละฝั่งสูงกว่า 50% ในทั้งสองแผนที่ ในส่วนของ Fracture นั้นอาจจะยังด่วนสรุปไม่ได้ เนื่องจากเป็นด่านใหม่ที่เพิ่งเข้าการแข่งขันไม่นาน แต่ว่า Fnatic ก็เป็นทีมที่เล่นด่านๆนี้มากที่สุดถ้าเทียบกับอีก 2 ทีม โดยเล่นไปทั้งหมด 4 ครั้งและมีอัตราการชนะอยู่ที่ 100% เต็ม 

ผู้เล่นที่น่าจับตามอง: Boaster

Jake “Boaster” Howlett ผู้เล่น IGL ขวัญใจชาว Valorant ที่มักจะสร้างสีสันให้กับผู้ชมอยู่เสมอ แต่ถึงกระนั้น เขาก็เป็นผู้เล่นที่มีสกิลเพลย์ที่สูง ซึ่งการันตีได้จากรางวัล Week 2 MVP ในการแข่งขัน VCT 2022: EMEA Stage 1 Challengers นอกจากนี้ เขายังมีแผนการเล่นในหัวอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย ซึ่งเรามักจะได้เห็นกันอยู่บ่อยครั้งที่เวลาเขาเล่นแรงค์กับคนอื่น เขาก็ยังคงคอยสั่งแผนให้เพื่อนร่วมทีมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการแข่งขัน VCT 2022: Stage 1 Masters – Reykjavík ครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งบททดสอบใหญ่ของเขาว่าการสั่งแผนของเขาจะมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน เพราะว่าผู้เล่นไม่ใช่ผู้เล่นชุดหลักเนื่องจากการเปลี่ยนผู้เล่นกะทันหัน

G2 Esports

G2 Esports

G2 Esports ทีมอันดับที่ 2 จากทวีป EMEA พวกเขาเริ่มต้นการแข่งขัน VCT 2022: EMEA Challengers 1 ได้ไม่ดีเท่าไหร่ แต่หลังจากที่ต้องตกลงไปเล่นสายล่างในรอบเพลย์ออฟ ฟอร์มการเล่นของทีมก็กระเตื้องขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด จนสามารถเอาชนะ Fnatic ได้ในรอบชิงชนะเลิศของสายล่าง และผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศพร้อมคว้าตั๋ว VCT 2022: Stage 1 Masters – Reykjavík

จุดแข็ง: G2 Esports เป็นอีกหนึ่งทีมที่มีจุดเด่นอยู่ที่การเล่นและแผนการเล่นที่รัดกุม ผู้เล่นบางคนภายในทีมอย่าง Mixwell หรือ Nukkye เป็นผู้เล่นที่มีประสบการณ์สูง ซึ่งพวกเขาสามารถคุมจังหวะเกมให้กับผู้เล่นคนอื่นๆภายในทีมได้ นอกจากนี้ ผู้เล่นแทบจะทุกคนภายในทีม G2 Esports สามารถเล่นได้หลายตัวละครและหลายตำแหน่ง อย่างเช่น Mixwell ที่เล่นได้ทั้งตัว Attacker และตัว Sentinels ทำให้พวกเขามีแผนการเล่นที่หลากหลายกว่าทีมอื่นๆ

จุดอ่อน: G2 Esports มีการปรับไลน์อัพผู้เล่นหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งผู้เล่นชุดนี้ของ G2 Esports ก็เพิ่งรวมทีมกันได้ไม่นาน ทำให้จังหวะการเล่นร่วมกันมีหลุดๆไปบ้าง โดยเห็นได้ชัดในช่วงแรกๆของการแข่งขัน VCT 2022: EMEA Challengers 1 ที่พวกเขาแพ้ Fnatic และ Acend 

แผนที่ที่ถนัด: Ascent, Split, Bind

แผนที่ Ascent คือแผนที่ G2 ถนัด พวกเขามักจะเล่นได้อย่างยอดเยี่ยมเสมอ โดยพวกเขามีอัตราชนะสูงถึง 80% และอัตราการแพ้ชนะในแต่ละฝั่งสูงถึง 60% ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากๆ ในส่วนของ Split และ Bind G2 มีอัตราการชนะมากกว่า 70% และอัตราการชนะในแต่ละฝั่งอยู่ที่ประมาณ 50-60% ซึ่งยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกัน

ผู้เล่นที่น่าจับตามอง: Nukkye

Žygimantas “nukkye” Chmieliauska เป็นอดีตผู้เล่น CS:GO มากประสบการณ์ที่ผันตัวมาแข่งขัน Valorant เขาเป็นผู้เล่นที่มีสกิลการเล่นที่สูงมากๆ เขามักจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับแฟนๆด้วยช็อตการเล่นที่น่าตื่นตาตื่นใจ นอกจากนี้ การเล่นของเขาก็เป็นส่วนสำคัญที่พา G2 Esports มาถึงรอบชิงชนะเลิศ VCT 2022: EMEA Challengers 1 และคว้าตั๋ว VCT 2022: Stage 1 Masters – Reykjavík ได้สำเร็จ

อ่านเพิ่ม: VCT Masters Reykjavik 2022 : โปรแกรม ผลการแข่งขัน ช่องทางรับชม